วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แผ่นดินถล่ม



                เป็นปรากฏการณ์ที่มีมาแต่สร้างโลก อาจเป็นเพียงเล็กน้อยเพียงก้อนหินก้อนเดียวที่ตกหรือหล่นลงมา หรือเศษของดินจำนวนไม่มากที่ไหลลงมา หรืออาจเกิดรุนแรงใหญ่โต เช่น ภูเขาหรือหน้าผา หรือลากเขาพังทลายลงมาก็ได้ และอาจเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด หรือค่อยๆ เป็นไปช้าๆ ก็ได้ จนกว่าจะเกิดความสมดุลใหม่จึงหยุด เนื่องจากในระยะหลังๆ นี้ ดินถล่มปรากฏเป็นข่าวบ่อยมากขึ้น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินและชีวิตมากขึ้น จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาเพื่อหาทางป้องกันและหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะ เกิดขึ้น
ผลกระทบ จากภัยดินถล่ม นอกจากจะก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนแล้ว ยังทำให้บ้านเรือน สิ่งสาธารณูปโภค เส้นทางคมนาคม   พื้นที่การเกษตร   และสภาพแวดล้อมได้รับความเสียหายอีกด้วย โดยจะทำให้ดินเสื่อมสภาพ เพราะหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ถูกชะล้างไป   ส่วนตะกอนดินที่ถูกพัดพาสู่แหล่งน้ำ ก็ทำให้น้ำมีคุณภาพลดลง   ต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูเป็นเวลานานกว่าจะกลับสู่สภาพดีดังเดิม ตลอดจนทำความเสียหายต่อเขื่อน   ทำให้มีพื้นที่เก็บกักน้ำน้อยลง   อาจทำให้เขื่อนพังได้   และนำไปสู่การเกิดอุทกภัย เนื่องจากเศษซากต่างๆ ที่ถูกน้ำซัดมาขวางทางเดินของน้ำ กลายเป็นฝายกั้นน้ำชั่วคราว   เมื่อฝายพัง   น้ำปริมาณมากจะไหลเข้าท่วมพื้นที่ท้ายน้ำ สร้างความเสียหายอย่างมหาศาลตามมาในภายหลัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น