วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เฮอร์ริเคนแคทรีนา



                เฮอร์ริเคนแคทรีนา (อังกฤษ: Hurricane Katrina) คือพายุเฮอร์ริเคนที่รุนแรง และสร้างความเสียหายที่สุด ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ถูกจัดความรุนแรงตาม มาตราเฮอร์ริเคนใน ประเภทที่ 5 (ตามมาตราของ Saffir-Simpson Hurricane Scale) ซึ่งถือว่ารุนแรงที่สุด และมีพายุเฮอร์ริเคนที่อยู่ในประเภทนี้มาก่อนเพียง 3 ลูกเท่านั้น ได้แก่เฮอร์ริเคนเลเบอร์เดย์ (Hurricane Labor Day, 1935) ในปี พ.ศ. 2478, เฮอร์ริเคนคามิลล์ (Hurricane Camille, 1969) ในปี พ.ศ. 2512 และเฮอร์ริเคนแอนดรูว์ (Hurricane Andrew) ในปี พ.ศ. 2535 ก่อนที่จะถูกลดระดับความรุนแรงให้อยู่ในประเภทที่ 4 เฮอร์ริเคนดังกล่าวสร้างความเสียหายมหาศาลให้แก่ชายฝั่งด้านตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ทางตอนใต้ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน เมืองนิวออร์ลีนส์ในรัฐลุยเซียนา ซึ่งตามแถลงการณ์ของทางการสหรัฐฯ ในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2548 พายุดังกล่าวกินเนื้อที่ความเสียหายประมาณ 90,000 ตารางไมล์ (233,000 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งกว้างเกือบเท่าเกาะบริเตนใหญ่ทั้งเกาะ

คลื่นสึนามิ



       คลื่นสึนามิ (ญี่ปุ่น: 津波 tsunami  คลื่นที่ท่าเรือ หรือ คลื่นชายฝั่ง ?) คือ คลื่นหรือกลุ่มคลื่นที่มีจุดกำเนิดอยู่ในเขตทะเลลึก ซึ่งมักปรากฏหลังแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ แผ่นดินไหวใต้ทะเล ภูเขาไฟระเบิด ดินถล่ม แผ่นดินทรุด หรืออุกกาบาตขนาดใหญ่ตกลงในทะเล คลื่นสึนามิสามารถเข้าทำลายพื้นที่ชายฝั่ง ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้คลื่นสึนามิเกิดขึ้นจากการกระทบกระเทือนที่ทำให้น้ำปริมาณมากเกิดการเคลื่อนตัว เช่น แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม หรืออุกกาบาตพุ่งชนเมื่อแผ่นดินใต้ทะเลเกิดการเปลี่ยนรูปร่างอย่างกระทันหัน จะทำให้น้ำทะเลเกิดเคลื่อนตัวเพื่อปรับระดับให้เข้าสู่จุดสมดุลและจะก่อให้ เกิดคลื่นสึนามิ การเปลี่ยนรูปร่างของพื้นทะเลมักเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวเนื่องจากการ ขยับตัวของเปลือกโลก ซึ่งจะเกิดบริเวณที่ขอบของเปลือกโลกหลายแผ่นเชื่อมต่อกันที่เรียกว่า รอยเลื่อน (fault) เช่น บริเวณขอบของมหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากแผ่นดินไหวแล้ว ดินถล่มใต้น้ำที่มักเกิดร่วมกับแผ่นดินไหวสามารถทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้ เช่นกันนอกจากการกระทบกระเทือนที่เกิดใต้น้ำแล้ว การที่พื้นดินขนาดใหญ่ถล่มลงทะเล หรือการตกกระทบพื้นน้ำของเทหวัตถุ ก็สามารถทำให้เกิดคลื่นได้ คลื่นสึนามิที่เกิดในรูปแบบนี้จะลดขนาดลงอย่างรวดเร็วและไม่มีผลกระทบต่อชาย ฝั่งที่อยู่ห่างไกลมากนัก อย่างไรก็ตาม ถ้าแผ่นดินมีขนาดใหญ่มากพอ อาจทำให้เกิด เมกะสึนามิ ซึ่งอาจมีความสูงร่วมร้อยเมตรได้

พายุไต้ฝุ่นเกย์



                พายุไต้ฝุ่นเกย์ (อังกฤษ: Typhoon Gay) เป็นพายุหมุนเขตร้อนทรงพลังซึ่งสร้างความเสียหายอย่างหนักในจังหวัดชุมพรและประเทศอินเดียฝั่งตะวันออกในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 เป็นพายุไต้ฝุ่นครั้งเลวร้ายที่สุดที่เกิดขึ้นในคาบสมุทรมลายูรอบ 35 ปี[1] พายุก่อตัวขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ในอ่าวไทยตอนล่าง ข้ามคาบสมุทรมลายู เคลื่อนเข้าไปในมหาสมุทรอินเดียเหนือ และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนระดับ 5 ก่อนขึ้นฝั่งในประเทศอินเดีย และสลายตัวเหนือเทือกเขากัตส์ตะวันตกในอินเดีย เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พายุนั้นไม่แปลกเฉพาะแต่เพียงเป็นพายุหมุนเขตร้อนเพียงลูกเดียวที่พัดถล่ม ประเทศไทยขณะมีความเร็วลมในช่วงพายุไต้ฝุ่น (120 ไมล์ต่อชั่วโมงเมื่อขึ้นฝั่ง) เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการก่อตัวขึ้นในอ่าว ขนาดที่เล็ก[2] ความหนาแน่นที่สูง และข้อเท็จจริงที่ว่าพายุนี้มีพลังอยู่ในแอ่งพายุหมุนเขตร้อนสองแอ่ง ซึ่งไม่ปกติสำหรับพายุหมุนเขตร้อน

ทอร์นาโด




            ทอร์นาโด (tornado อ่านว่า ทอร์เนโด) เป็นพายุที่ เกิดจากการหมุนของอากาศ สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ โดยลักษณะที่พบได้บ่อยสุดคือลักษณะรูปทรงกรวย โดยส่วนปลายโคนชี้ลงที่พื้น ทอร์นาโดสามารถก่อพลังทำลายได้สูง โดยความเร็วลมสามารถสูงมากถึง 500 กม/ชม (300 ไมล์/ชม) ซึ่งก่อให้เกิดการพังทลายของสิ่งก่อสร้างได้
ทอร์นาโดเกิดขึ้นจากลมร้อนและลมเย็นมาเจอกันและก่อตัวให้เกิดลมหมุน และเมื่อลมหมุนในระดับที่ไม่คงที่ ทำให้ปลายข้างหนึ่งลงมาสัมผัสที่พื้นก่อให้เกิดทอร์นาโดได้ โดยทอร์นาโดสามารถส่วนใหญ่เกิดในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่สามารถก่อให้เกิดลมร้อนและไอเย็นปะทะกันบริเวณทุ่งราบ
ทอร์นาโดแบ่งออกเป็นรายระดับตามกำลังทำลายและความเร็วลม โดยแบ่งเป็น F0 - F5 โดย F0 เป็นทอร์นาโดที่อ่อนกำลังสุด และ F5 เป็นทอร์นาโดที่กำลังแรงสุด
ความแรงของพายุ ส่งผลกับขนาด และการสลายตัวของพายุด้วย พายุระดับ F0-F1 อาจมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 100 เมตร และเคลื่อนตัวไปได้ไม่กี่กิโลเมตรก็สลายตัวไป ในขณะที่พายุ F5 อาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่า 1,600 เมตร และเคลื่อนตัวไปได้มากกว่า 100 กิโลเมตรก่อนจะสลายตัว ซึ่งการที่พายุที่ระดับสูงกว่าจะทำให้พายุมีขนาดใหญ่และสลายตัวช้าด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พายุหิมะ



                    พายุหิมะเป็นพายุที่ทำให้เกิดหิมะจำนวนมาก จนมองไม่เห็นทางข้างหน้า ผลที่เกิดขึ้นคือ ทำให้วิสัยทัศน์ในการมองเห็นแทบจะเหลือศูนย์หรือมองไม่เห็นเลย กองหิมะที่สูงใหญ่และลึก พร้อมกับอากาศที่หนาวสั่น  จะสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและขัดขวางต่อการคมนาคมขนส่ง รวมทั้งการติดต่อสื่อสารด้านโทรคมนาคมดังนั้นขอให้เราอยู่แต่ภายในบ้านหรืออาคาร และอยู่ให้ห่างจากความหนาวเย็นมากที่สุด จากสถิติด้านสภาพอากาศระบุว่า ผู้คนเป็นจำนวนมากที่ไม่เอาใจใส่ต่อข้อแนะนำเรื่องนี้
ผลกระทบ นักวิทยาศาสตร์หลายสำนัก พยายามจะอธิบายปรากฏการณ์หนาวที่เกิดขึ้น คำอธิบายชุดหนึ่งก็คือ  เป็นเพราะการแกว่งตัวตามวงรอบของมวลอากาศเย็นของอาร์กติกและแอตแลนติกเหนือ  การแกว่งตัวของมวลอากาศถ้าจะอธิบายอย่างง่ายๆ ก็คงเหมือนกับเราไกวเปล  ก็จะมีจังหวะที่เปลขึ้นสูงสุด  และลงต่ำสุด  สลับกันไปในจังหวะที่แน่นอน  และมีวงรอบที่แน่นอน  เช่น 10 ปี 15 ปี เป็นต้น  จังหวะที่ทำให้หนาวเย็นก็คือ ช่วงที่มวลอากาศจากอาร์กติกและแอตแลนติกเหนือแกว่งไปถึงจุดสูงสุด  ที่น่าสนใจก็คือชุดของการแกว่งตัวนี้มีอยู่นับพันชุด  แต่ละชุดมีวงรอบของการแกว่งตัวที่ทำให้เกิดอากาศเย็นเป็นระยะเวลาไม่เท่ากัน